ระเบียบวาระที่  ๔     เรื่องเสนอเพื่อทราบ
                          ๔.๓ รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นตามพระราโชบายด้านการศึกษาของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่  ๑๐  ประจำเดือนพฤษภาคม  ๒๕๖๔
 
สรุปเรื่อง  
 
                     ยุทธศาสตร์ที่ ๑ การพัฒนาท้องถิ่น
                   ๑. โครงการยกระดับพัฒนาคุณภาพชีวิตและยกระดับรายได้ให้กับคนในชุมชนฐานราก
                       มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์  ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้ดำเนิน โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ๑ ตำบล ๑ มหาวิทยาลัย (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ : U2T) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ ณ พื้นที่เป้าหมาย ประกอบดัวย ๓ จังหวัด ๔๘ ตำบล ซึ่งได้ดำเนินกิจกรรม U2T สู้ภัยโควิด (U2T COVID-19 WEEK) ในอังคารวันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๖๔ เวลา ๐๙.๐๐ น. ณ โรงเรียนวัดลาดหลุมแก้ว ต.ระแหง อ.ลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานี มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยการนำของ ผศ.ดร.สุพจน์ ทรายแก้ว อธิการบดี พร้อมด้วย รศ.ดร.นฤมล ธนานันต์ ผศ.ปิยะ สงวนสิน รองอธิการบดี และคณะผู้เกี่ยวข้อง เข้าร่วมในกิจกรรม U2T สู้ภัยโควิด (U2T COVID-19 WEEK) โดยดำเนินการมอบอุปกรณ์ และเครื่องมือต่างๆ ในการทำความสะอาดให้กับตัวแทนโรงเรียนวัดลาดหลุมแก้ว จากนั้นทีมคณะผู้บริหาร ทีมคณาจารย์ผู้รับผิดชอบในพื้นที่ ทีมลูกจ้าง อว. พร้อมด้วยคุณครูร่วมกันทำความสะอาดอาคารเรียนต่าง ๆ ฉีดพ่นยาฆ่าเชื้อบริเวณรอบๆ โรงเรียน เพื่อเป็นการ “รุกคลีนพื้นที่เคลียร์เชื้อร้าย” และเพื่อสร้างความปลอดภัย ให้ชุมชนและเด็กนักเรียน ด้วยความห่วงใย จากใจมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ เราจะสู้ COVID -19
ไปด้วยกัน
                       มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์  ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้ดำเนินกิจกรรม U2T รวมพลัง ปกป้องชีวิต พิชิต COVID ด้วยวัคซีน โดยการแจ้งผู้ประสงค์ฉีดวัคซีน ผ่านทาง AM และอาจารย์นักพัฒนา ในเขตจังหวัดปทุมธานี โดยสำรวจคนในชุมชนที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง ประชาชนทั่วไป อาจารย์ นักศึกษา รวมทั้งผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคประจำตัว โดยมีผู้ประสงค์ฉีดวัคซีน จำนวน ๘๕ คน และได้รับการฉีด จำนวน ๘๐ คน
                       สำนักส่งเสริมการเรียนรู้และบริการวิชาการ  จึงขอรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานโครงการยกระดับพัฒนาคุณภาพชีวิตและยกระดับรายได้ให้กับคนในชุมชนฐานราก เพื่อร่วมศึกษาแก้ไขปัญหาของชุมชนท้องถิ่น เสริมพลังให้ชุมชนท้องถิ่นสามารถดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืนจังหวัดปทุมธานี และจังหวัดสระแก้ว ต่อคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยเพื่อทราบ
                    
                    ๒. โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่น
                        
                    ๓. โครงการพัฒนาระบบฐานข้อมูลตำบล
                            
                     ๔. โครงการเสริมสร้างสมรรถนะภาคีเครือข่าย การวางแผนพัฒนาเชิงพื้นที่ระดับตำบล
                        รายงานผลการประชุมเตรียมความพร้อมจัดทำแผนพัฒนาพื้นที่ในวันที่ ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๖๔ โดยมีรายละเอียดหัวข้อการประชุม คือ
                           ๑. แนวทางการดำเนินกิจกรรม การใช้เครื่องมือการพัฒนา
                           ๒. วิเคราะห์ข้อมูล และประเมินความต้องการของพื้นที่
                           ๓. การเสนอแผนพัฒนารายพื้นที่ของจังหวัดปทุมธานี และสระแก้ว
                           ๔. ชี้แจงรายละเอียดงบประมาณการดำเนินกิจกรรม
                         อาจารย์ผู้รับผิดชอบลงพื้นที่ดำเนินการวิเคราะห์ความต้องการของชุมชนระหว่างวันที่ ๗ – ๑๘ มิถุนายน ๒๕๖๔  เพื่อเตรียมความพร้อมในการนำเสนอกิจกรรมการพัฒนาพื้นที่ พร้อมงบประมาณในการดำเนินการ ในช่วงเดือนกรกฎาคม ถึง เดือนสิงหาคม
                         แผนการดำเนินกิจกรรมต่อไป คือ ให้แต่ละพื้นที่นำเสนองบประมาณ และกิจกรรมให้สอดคล้อง
กับความต้องการของพื้นที่
                                                   
                    ยุทธศาสตร์ที่ ๒ การผลิตและพัฒนาครู
                    ๕. โครงการยกระดับการเรียนรู้ ด้านการอ่าน การเขียน และการวิเคราะห์ของนักเรียนในระดับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
                        ตามที่มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี ได้รับงบประมาณเพื่อดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่น ในเขตพื้นที่ที่มหาวิทยาลัยรับผิดชอบ ได้แก่พื้นที่ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้จัดทำโครงการยกระดับคุณภาพการศึกษา เพื่อสร้างเครือข่ายและแก้ปัญหาด้านการศึกษาของนักเรียนในเขตพื้นที่เป้าหมายจังหวัดปทุมธานี และจังหวัดสระแก้ว ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ ตามพระบรมราโชบายด้านการศึกษาของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดี ศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๑๐ นั้น สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียนขอรายงานสรุปผลการดำเนินงานประจำเดือนพฤษภาคม๒๕๖๔ ดังนี้
                         ในเดือนพฤษภาคม มหาวิทยาลัยมอบหมายให้ผู้จัดการพื้นที่ร่วมกับโรงเรียนเครือข่าย ร่วมพัฒนาชุด TTK สำหรับการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ในโรงเรียนและกำหนดใช้กับนักเรียนในภาคการศึกษาที่ ๑/๒๕๖๔ และผู้จัดการพื้นที่ดำเนินการจัดทำรายงานผลการดำเนินการในโรงเรียนของแต่ละโรงเรียน
                         สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน จึงขอรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานโครงการยกระดับคุณภาพการศึกษา ในเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดปทุมธานี และจังหวัดสระแก้ว ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ ต่อคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยเพื่อทราบ
            
                    ๖. โรงเรียนสาธิตเป็นศูนย์ต้นแบบ และศูนย์ปฏิบัติการเรียนรู้
                         รายงานความก้าวหน้าโครงการโรงเรียนสาธิตเป็นศูนย์ต้นแบบและศูนย์ปฏิบัติการเรียนรู้ กลุ่มเป้าหมายในจังหวัดปทุมธานี จำนวน ๗ โรงเรียน ประกอบด้วย อำเภอคลองหลวง  จำนวน ๓ โรงเรียน และอำเภอลาดหลุมแก้ว จำนวน ๔ โรงเรียน รวมจำนวนครูกลุ่มเป้าหมาย ๒๐๐ คน
                ปัญหา            ๑. นักเรียนอ่านเขียนไม่คล่อง
                                    ๒. นักเรียนไม่มีโอกาสสร้างนวัตกรรมนักเรียน
                           วิธีการแก้ไข      ๑. จัดอบรมการสอนเพื่อแก้ปัญหาการอ่าน การเขียนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้และการออกแบบโมดู บูรณาการให้นักเรียนสร้างนวัตกรรม
                                               ๒. โค้ชและติดตามหลังการอบรม
                                               ๓. จัดทำวีดิทัศน์
                                               ๔. จัดเวทีเรื่องเล่าความสำเร็จของครูและนักเรียน
                                               ๕. จัดเวที Teach Talk เผยแพร่ผลงาน
                          ผลลัพธ์ที่ได้       ๑. ครูได้รับการพัฒนา จำนวน ๒๐๐ คน
                                               ๒. เรื่องเล่าความสำเร็จของครูและนักเรียน จำนวน ๑๐๐ เรื่อง
                                               ๓. นวัตกรรมนักเรียน จำนวน ๑๐๐ นวัตกรรม
                                               ๔. วีดิทัศน์โครงการ จำนวน ๑ เรื่อง
                                               ๕. ครูต้นแบบ จำนวน ๒๐ คน
                          จำนวนงบประมาณที่ดำเนินการตามแผนการดำเนินงาน
 
                    ๗. โครงการสนับสนุนสื่อวีดิทัศน์ ประกอบการเรียนการสอนเพื่อการแก้ปัญหาการขาดแคลนครูให้กับโรงเรียนขนาดเล็ก
                                                                    
                     ยุทธศาสตร์ที่ ๓ การยกระดับคุณภาพการศึกษา
                    ๘. โครงการพัฒนาความรู้ทักษะด้านภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษาครูในศตวรรษที่ ๒๑
 
                     ยุทธศาสตร์ที่ ๔ การพัฒนาระบบบริหารจัดการ
                    ๙. โครงการพัฒนาระบบบริหารจัดการความรู้สู่ความเป็นเลิศ (EdPEx)
        
                    ๑๐. โครงการ VRU Mindset
 
                    ๑๑. โครงการพัฒนาศูนย์ข้อมูลมหาวิทยาลัยราชภัฏ                 
                         
กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวขัอง
    -
 
ประเด็นเสนอเพื่อทราบ
 
 
มติคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย
    ...............................................................................................................................................................
    ...............................................................................................................................................................
    ...............................................................................................................................................................
    ...............................................................................................................................................................